ลองบล็อกด้วย Jekyll: Blogging Like A Hacker

May 9, 2015    Blogging Jekyll wordpress

jekyll-white-black

วันสองวันมานี้ผมได้ทำการศึกษาเรื่อง Jekyll ซึ่งเป็น Static file generator คือเราเขียนบล็อกเป็นไฟล์ Text แล้ว Jekyll จะแปลงเป็นไฟล์ HTML ให้เรานำไปอัพโหลดบนเซิฟเวอร์ต่อได้

ครั้งแรกที่ผมเห็น Jekyll คือในเว็บของ Paul Stammy ที่เห็นแล้วสบถในใจว่าทำไมสวยขนาดนี้ จากนั้นจึงไปค้นว่าใช้ Jekyll เขียนบล็อก ศึกษาไปศึกษามาแล้วพบว่า Jekyll นี่สุดยอดมากจริงๆ

ข้อดีคือ

  * ทุกอย่างเป็น static file ทำให้ทำงานเร็วมาก และโฮสต์ไว้ที่ไหนก็ได้ [เช่น Github page สามารถโฮสต์ static file ได้ฟรี เลยมีหลายคนที่โฮสต์บล็อกที่เขียนด้วย Jekyll ไว้ใน Github ดังนั้นค่าใช้จ่ายสำหรับการเขียนบล็อกจะมีแค่ค่าโดเมน]
  * ไม่มีการเชื่อมต่อ Database ทำให้การย้าย Host เป็นไปได้เร็วมาก เพียงกดอัพโหลด ไม่ต้องจัดการกับการย้ายฐานข้อมูล mysql เหมือนของทางฝั่ง Wordpress
  * เหมาะแก่การทำเว็บเล็กๆ เช่นเว็บ Doccument หรือบล็อกเปิดใหม่ที่รักความ Geek มากๆ
  * ไม่เยอะเหมือน Wordpress [คือ Wordpress มันเยอะ เกินคำว่าบล็อกไปแล้ว]
  * การเขียน Theme และส่วนเสริมอื่นๆทำได้ง่าย เพราะใช้ Liquid ในการจัดการ Theme และระบบต่างๆถูกเขียนมาดีอยู่แล้ว [คิดไปคิดมาก็เหมือน Wordpress เลย]
  * มี Web server ในตัว ทำให้ไม่จำเป็นต้องลง Appserve, Xampp เพิ่ม สะดวกดี![commandline-jekyll](https://www.innnblog.com/wp-content/uploads/2015/05/commandline-jekyll.png)

ข้อเสียคือ

  * แม่งใช้ยากโคตร เพราะโปรแกรม Jekyll ถูกเขียนโดยภาษา Ruby ตอนนำมาใช้ใน Windows เลยต้องพลิกหลายตลบ เพราะไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้ใน Windows ผมลองแล้วพลิกหลายรอบแล้ว ยอมแพ้ เลยลง Ubuntu ในโน้ตบุคเพื่อการนี้ [อยากเล่นมาก] \\คนมันไม่มี Mac TT
  * community ที่เป็นคนไทย ภาษาไทย หาได้ยากมาก มาก ถึงไม่มีเลย เท่าที่ค้นมีคนไทยเพียงสามคน รวมผมด้วยที่ใช้ Jekyll ในการเขียนบล็อก [สามารถดู Demo Jekyll ของผม ได้ที่ [blog.innnblog.com] ](http://blog.innnblog.com)
  * กว่าจะเขียนเสร็จคือต้องเขียนเป็น Markdown > Build > Upload ถึงสามขั้นตอน ซึ่งหากจะพูดว่าเป็น Static file แล้วดีก็ใช่ แต่ว่าลำบากขนาดนี้ขอใช้ Wordpress ต่อดีกว่า
  * หากเขียน Markdown ใน Sublime หรือ Atom แล้วมันไม่รองรับภาษาไทย เพิ่มความยากลำบากแก่การเขียนบล็อกเพิ่มขี้นหลายเท่า อาจจะต้องเขียนใน Texteditor เปล่าๆด้วยตนเอง

ทีแรกผมคิดจะย้ายบล็อกตัวเองไปเป็น Jekyll เหมือนกัน แต่คิดถึงปัญหาที่ตามมาแล้วทั้งกว่าจะเขียนบล็อกได้นี่ต้องใช้คอมเครื่องที่เป็น Linux, Mac ติดตั้ง Jekyll เขียนด้วยภาษา Markdown แล้วอัพโหลดด้วย Filezilla ผมบ่นกับตัวเองเป็นรอบที่สองว่าอย่าเลยถ้าแม่งจะลำบากขนาดนี้

อนึ่งหากย้อนกลับไปดูคนที่พัฒนา Jekyll เขาใช้คำว่า “Blogging Like a Hacker” ซึ่งผมก็เริ่มเก็ทจริงๆ lol

เหมาะกับ

เช่นเดียวกับที่เขียนไปในตอนแรกว่า Jekyll เหมาะกับเว็บ Doccument วิธีใช้ต่างๆ หากสามารถสร้างเว็บที่สวย Static file และเร็วโคตร โดยไม่ต้องพึ่ง Wordpress ที่ต้องติดต่อกับฐานข้อมูลและมีโอกาสพังได้บ่อยๆจะดีแค่ไหน สามารถใช้ Github page ทำโฮสต์ฟรีตลอดชีพได้จะดีแค่ไหน

และหากคุณเป็น Blogger ที่อยากจะ Blogging like a hacker แล้วละก็ Jekyll นี่โคตรจะตอบโจทย์ เพราะจะพบกับสุดยอดแห่งความ Geek ในการเขียนบล็อกเลย lol

ย้ายจาก Wordpress เป็น Jekyll

ตอนผมลองครั้งแรกผมหาวิธีหลายๆอย่างเพื่อย้ายบล็อกตัวเองเป็น Jekyll หาวิธีหลายทาง พบว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการใช้ exitwp script เนื่องจากผมลองใช้หลายๆตัวแล้ว[โดยเฉพาะที่หน้าเว็บ Jekyll Doccument แนะนำ]จะติดปัญหาเรื่อง Software ไม่ครบ ไม่ลงตัว บลาๆ ใช้ตัวนี้ลงตัวสุดแล้ว เพียง

  1. Export Wordpress เป็น XML ที่ menu export
  2. นำไปวางไว้ในโฟลเดอร์ XML ของ exitwp
  3. รัน python exitwp.py
  4. จบ

เราจะได้ไฟล์เว็บของเรามาอยู่ในรูปของ Markdown [หรือ Html ก็ได้ ตามที่ตั้งค่า] แล้วให้ Jekyll Generate เป็น Static file อีกทีนึง

ข้อควรรู้: exitwp อ่าน slug ภาษาไทยไม่ได้ จะเปลี่ยนเป็นตัวอะไรไม่รู้อ่านไม่ออก เพราะฉะนั้นหากจะทำควรเปลี่ยน Url เป็นภาษาอังกฤษก่อน

ใช้หรือไม่ใช้

ไม่ใช้ครับ ถ้าจำลำบากขนาดนี้ แล้วต้องมาเขียน Plugin เองอีก อินใช้ Wordpress ต่อไปดีและ

ชอบบทความนี้รึเปล่า?
กดทวิตเป็นกำลังใจ 🤟